หนี้รถยนต์ใกล้ตกชั้นเพิ่ม ‘แบงก์ชาติ’ชี้ดอกเบี้ยสูงไม่ใช่ปัญหา

วันที่ 14 มิ.ยคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. นายสุรัช แทนบุญ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ในงาน ธปท. พบนักวิเคราะห์ได้มีประเด็นสงสัยถึงเรื่องการขึ้นดอกเบี้ยที่สูง จะกระทบกับผู้กู้และการผ่อนชำระหนี้หรือไม่ หลังจากมีแนวโน้มค้างชำระ 30-90 วัน หรือเอสเอ็ม ใกล้จะตกชั้นเป็นหนี้เสียเอ็นพีแอลมากขึ้น โดย ธปทคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. มองว่าดอกเบี้ยเป็นแค่หนึ่งในตัวที่กำหนดขยายตัวของสินเชื่อ และเป็นหนึ่งที่กำหนดคุณภาพสินเชื่อ เช่น สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ ที่ผ่านมาผู้ประกอบการแข่งขันสูง ทำให้ต้องประเมินความสามารถชำระหนี้ลูกค้า เพราะในช่วงแข่งขันมาก อาจมีข้อจำกัดบางอย่าง แต่ไม่สามารถนำมาเทียบหนึ่งต่อหนึ่งกับดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นได้

ทั้งนี้ในส่วนสินเชื่อที่ชะลอลงนั้น เพราะที่ผ่านมาเอกชนมีการระดมทุนผ่านออกตราสารหนี้มาก และที่ผ่านมาธนาคารพาณิชย์บางแห่ง โอนพอร์ตสินเชื่อบัตรเครดิต สินเชื่อบุคคลไปบริษัทลูก ทำให้การขยายตัวสินเชื่อชะลอลงบ้าง และยังมีเรื่องการคืนซอฟต์โลน ซึ่งทั้งหมดมีทั้งเรื่องปริมาณการปล่อยสินเชื่อ และคุณภาพปล่อยสินเชื่อ ที่นอกเหนือจากดอกเบี้ยด้วย

“แม้ดอกเบี้ยสินเชื่อปล่อยใหม่ ในส่วนของดอกเบี้ยเงินกู้รายย่อย (เอ็มอาร์อาร์) ปรับเพิ่มขึ้น แต่มีสินเชื่อเดิมที่ส่วนใหญ่ไม่ได้รับผลกระทบจากการที่ดอกเบี้ยปรับขึ้น เพราะกลุ่มนี้ดอกเบี้ยยังต่ำอยู่ แต่สินเชื่อปล่อยใหม่ มีดอกเบี้ยปรับเพิ่มขึ้นบ้าง เช่น บางสัญญาอย่างสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ และหากจ่ายค่างวดสินเชื่อบ้านด้วย ก็ต้องระมัดระวังมากขึ้น”

นายสักกะภพ พันธ์ยานุกูล ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธปท. กล่าวว่า ไทยเจอวิกฤติมา 2-3 ปี สถาบันการเงินมีมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ ทำให้ตัวเลขเอ็นพีแอล ไตรมาสแรกปี 66 ลดลงเหลือ 2.6% แต่ก็มีบางสินเชื่อ เช่น สินเชื่อรถยนต์มีเอสเอ็มเพิ่มขึ้น แต่การเพิ่มขึ้นน้อยลงจากไตรมาส 4 ที่ผ่านมา เพราะการบริหารจัดการของธนาคาร แต่มองว่าเอสเอ็ม และเอ็นพีแอล โดย ธปท. ดูเรื่องหนี้ครัวเรือนสูงอยู่แล้ว ปัญหาอยู่กับคนรายได้น้อยเป็นหลัก อาจอยู่กับสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร หรือนอนแบงก์ค่อนข้างเยอะ

นายภูริชัย รุ่งเจริญกิจกุล ผู้อำนวยการ ฝ่ายนโยบายการเงิน ธปท. กล่าวว่า สินเชื่อเป็นที่น่าสนใจช่วงที่ผ่านมา เพราะช่วงโควิดมีการปล่อยสินเชื่อเยอะมาก เพราะเป็นความพยายามร่วมกันผู้ดำเนินนโยบายและธนาคารพาณิชย์ ซึ่งหากในอดีตจากที่ผ่านมา เวลาเศรษฐกิจไม่ดี ธนาคารก็ไม่ปล่อยกู้ แต่ช่วงโควิดช่วยกันให้สินเชื่อเพิ่มขึ้นมา ซึ่งในเวลานี้ภาคธุรกิจขนาดใหญ่พึ่งพาตราสารหนี้ หุ้นกู้ มากขึ้น ทำให้สินเชื่อชะลอลงบ้าง

นายปิติ ดิษยทัต ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธปท. กล่าวว่า หากพูดถึงเครื่องมือแก้ปัญหาหนี้เดิม ถ้าใช้ดอกเบี้ยมองว่าไม่ได้เป็นเครื่องมือที่เหมาะสมและมีกระทบวงกว้าง โดยหนี้เดิมที่มีปัญหาต้องมีมาตรการเฉพาะจุดออกมา